วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

About Me...



                           My  name  is  Atinut  Galawig.  Everyone  call  me  Eye  or  sometimes  Pop-Eye.  I  was  born  on  4  July  1993.  Now  I'm  studying  at  Nakhon  Si  Thammarat  Rajabhat  University.  My  favorite  color  is  grey  brown  and  red.  In  the  future  I  want  to  be  an  English  teacher.  Now,  I'm  a  barista  at  coffee  shop  and  also  teach  for  the  gifted  child  at  my  mother  school.
   

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Adobe Captivate

Adobe Captivate
ทำความรู้จัก Adobe Captivate
โปรแกรม Adobe Captivate เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้าง Movie ในรูปแบบสื่อเรียนการเรียนรู้ หรือสื่อการนำเสนอแบบมัลติมีเดีย เช่น การนำเสนอผลงาน การจับหน้าจอภาพเพื่อนำไปสร้างสื่อการเรียนรู้ การสร้างแบบทดสอบ รวมไปถึงการตัดต่อวิดีโอ เพื่อใช้สำหรับงานนำเสนอหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ โดยโปรแกรม Adobe Captivate เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างชิ้นงานได้ง่ายและเร็ว
จุดเด่นของโปรแกรม Adobe Captivate
-                    สร้างสื่อเรียนรู้หรือสื่อนำเสนอมัลติมีเดียได้อย่างง่ายดาย
-                    ตัดต่อวิดีโอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
-                    สร้างสื่อเรียนรู้โดยการจับหน้าจอภาพ (Screen capture movie) ประกอบเสียงบรรยาย เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
-                    สร้างแบบทดสอบได้ง่าย
-                    นำเข้าไฟล์จากแหล่งต่างๆ ได้หลากหลาย
·         ไฟล์รูปภาพ (Image) เช่น JPG, BMP, GIF
·         ไฟล์เสียง (Sound) เช่น MP3, WAV
·         เสียงบรรยายผ่านไมโครโฟน
·         ไฟล์วิดีโอ (Video) เช่น AVI
·         สไลด์จากโปรแกรม Microsoft Power Point (.PPT)
-                    ส่งออกไฟล์ได้หลายรูปแบบ
-                    Flash movie File (.swf) ลักษณะเช่นเดียวกับโปรแกรม Macromedia Flash
-                    HTML File (.html) สำหรับการนำไปใช้กับเว็บไซต์
-                    EXE File (.exe) สำหรับการนำไปใช้แบบ Stand alone คือ การแสดงผลโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม Adobe captivate
-                    ควบคุมเวลาได้ง่าย โดยใช้ Virtual Timeline
-                    ดูตัวอย่างผลงานได้ทันที โดยไม่ต้อง Compile
-                    สนับสนุนการใช้งานร่วมกับ Macromedia Breeze ทำให้สามารถกำหนดเนื้อหาที่จะแสดงให้กับผู้ใช้ที่ต้องการได้ผ่านบราวเซอร์ โดยนำผลงาน (Publishing) ไปไว้ที่ Breeze Serve
-                    ฟอร์แมตที่เป็นมาตรฐานสนับสนุนโปรแกรมออกแบบบทเรียนออนไลน์ทุกประเภท ตามการรับรองของ SCORM 2004, SCORM 1.2 และ AICC ซึ่งสามารถนำไปใช้งานร่วมกับโปรแกรมออกแบบบทเรียนออนไลน์แบบ LMS (Learning Management System)
 

การเปิดใช้งานโปรแกรม Adobe Captivate
1.       คลิกที่ Start Menu
2.       คลิกที่ All Program
3.       เลือกเมนู Adobe
4.       คลิกที่ Captivate จะปรากฏหน้าจอแรกของโปรแกรม

   


ส่วนประกอบหน้าจอแรกของโปรแกรม Adobe Captivate
Ø  Open a recent project
§  แสดงไฟล์ล่าสุดที่เคยบันทึกไว้ในโปรแกรม
§  เปิดไฟล์ที่เคยบันทึกไว้
Ø  Record new project (สำหรับการเริ่มต้นใช้งานแนะนำให้ใช้งานตรงส่วนนี้)
§  สำหรับสร้าง movie
§  บันทึก movie (จับหน้าจอภาพ)
Ø  Getting started tutorials แนะนำขั้นตอนการสร้าง Movie ด้วยโปรแกรม Adobe Captivateเริ่มตั้งแต่การบันทึก การแก้ไขตกแต่ง การส่งออก การนำเข้าไฟล์เสียง การสร้างส่วนตอบโต้ การใส่ลูกเล่นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ตามลำดับ

เริ่มต้นใช้งาน Adobe Captivate (การสร้าง Movie ใหม่)
1.       เปิดโปรแกรม Adobe Captivate ขึ้นมา
2.       คลิกตรง Record or create a new project จะปรากฏหน้าต่าง New project options
3.       คลิกเลือกรูปแบบของการผลิตสื่อบทเรียน โดยการคลิกที่ Other
4.       คลิกที่ Blank Project


ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Captivate
1.       Toolbar                              เป็นแถบที่เก็บเครื่องมือหลักของโปรแกรมหรือเครื่องมือที่ใช้บ่อย
2.       Storyboard                        เป็นมุมมองสไลด์ (Frame) โดยในตอนแรกที่เรียกเปิดโปรแกรมจะมี 1 Slide
(1 Frame)
3.       Work Area                         เป็นพื้นที่การสร้าง Movie
4.       Time Line                          เป็นส่วนกำหนดเวลาในการในการ Play Movie
5.       Object Tools                    เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างวัตถุ
6.       Alignment Tools               เป็นเครื่องมือในการใช้จัดตำแหน่งวัตถุใน Work Area

(Computer-assisted language learning program)

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL





ผ่าน บาลโพธิ์ (2539) อธิบายลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา หรือCALL (Computer-assisted language learning program) ไว้ว่า โปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน หรือ CAI คือ มีการเสนอเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม

แต่ CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์

CALL

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา (CALL)
           ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
           คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted Instruction ซึ่ง  ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ป็นภาษาไทยว่า “การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแต่คำศัพท์ดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมใช้กัน โดยมักใช้คำว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันมากกว่า หรือที่เรียกย่อๆว่า CAI นอกจากคำว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว ยังมีคำศัพท์อีกหลายคำที่เกี่ยวข้องกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการศึกษาแต่มีความหมายแตกต่างกันไป

 

นักการศึกษาได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ ดังต่อไปนี้ 
สุกรี รอดโพธิ์ทอง ( 2532:54 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเนื้อหาหรือทบทวนวิชา โดยเฉพาะในแต่ละหน่วยของเนื้อหาวิชาจะบอกถึงวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมและการประเมินผล มีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และเทคนิคการออกแบบการสอนแบบต่างๆเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ฉลอง ทับศรี ( 2538:1 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนด้วยตนเองเป็นหลัก 
สุรางค์ โคว้ตระกูล ( 2536:237 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ใช้ในการทบทวนบทเรียนการทำแบบฝึกหัด การติวและการสร้างสถานการณ์จำลองช่วยในการสอนแก้ปัญหา 
ล็อคคาร์ด (1990:164) ได้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์โดยตรงในการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นสื่อสาร 2 ทิศทางกับคอมพิวเตอร์ในการตอบคำถามและการได้รับผลย้อนกลับในการตอบทันที 

          
ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที
2.ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้
4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว
5.ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
6.สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
7.ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น
8.ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท
9.ประหยัดเวลาลังบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
10.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง แก้ปัญหาและฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
         
           
รุป

          
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบระหว่างผู้เรียน พร้อมทั้งส่งผลย้อนกลับได้ทันที มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล